การทำงานกับสารเคมี ไม่ว่าจะในห้องปฏิบัติการวิจัย โรงงานผลิต หรือในครัวเรือน ก็จำเป็นต้องตระหนักรู้และระมัดระวังต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้น ตั้งแต่การสัมผัสกรดจนทำให้เกิดแผลไหม้ไปจนถึงการสูดดมเพียงนิดเดียวก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้
ดังนั้น ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ทำความเข้าใจคุณสมบัติและความเสี่ยงทางเคมี
สารเคมีทุกชนิดมีคุณสมบัติและความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเกิดว่าสามารถทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้ได้แล้วล่ะก็ก็จะสามารถป้องกันตัวเองและเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ได้มากยิ่งขึ้น โดยคุณสามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลเหล่านี้
- เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุ (MSDS: Material Safety Data Sheet) : ควรตรวจสอบ MSDS สำหรับสารเคมีทุกชนิดก่อนสัมผัสหรือใช้งานเสมอ เอกสารนี้ให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยและอันตรายที่สำคัญมากๆ
- สัญลักษณ์อันตราย : จดจำสัญลักษณ์บนภาชนะบรรจุสารเคมีซึ่งระบุถึงลักษณะของอันตรายทางเคมี (เช่น ไวไฟ เป็นพิษ หรือกัดกร่อน)
จัดเก็บสารเคมีให้เหมาะสม
การจัดเก็บสารเคมีอย่างปลอดภัยสามารถป้องกันอุบัติเหตุและรักษาความสมบูรณ์ของสารเคมีได้
- ตู้เก็บสารไวไฟ : สำหรับสารเคมีที่มีจุดวาบไฟต่ำ ให้ใช้ตู้เก็บสารที่มีคุณสมบัติทนไฟ
- เก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง : สารเคมีส่วนใหญ่ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ห่างจากแสงแดดโดยตรง
- เก็บสารอันตรายให้ห่างจากกัน : สารเคมีบางชนิดหากผสมกันเพียงแค่นิดเดียวก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้
การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)
PPE ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงานกับสารเคมี และเป็นส่วนประกอบสำคัญของ ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี เพราะช่วยป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานได้
- แว่นตานิรภัย : ปกป้องดวงตาจากสารเคมีที่อาจจะกระเด็นโดน
- ถุงมือกันสารเคมี :ถุงมือแต่ละชนิดให้ความทนทานต่อสารเคมีต่างกัน โปรดดูคำแนะนำใน MSDS
- เสื้อกาวน์สำหรับห้องแล็บและผ้ากันเปื้อน : ช่วยป้องกันสารเคมีหกใส่
จัดเตรียมมาตรการสำหรับเหตุฉุกเฉิน
ไม่ว่าจะมีการป้องกันที่เข้มงวดแค่ไหน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอันตรายก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น มาตรการสำหรับเหตุฉุกเฉินจึงถือว่าสำคัญมาก
- สถานีล้างตา : สถานีล้างตา คือ ชุดติดตั้งที่พนักงานสามารถใช้ล้างตาแบบฉุกเฉินได้ ประกอบด้วยน้ำยาล้างตา น้ำประปา ควรติดตั้งไว้ใกล้สถานที่ทำงานให้ได้มากที่สุด และจะต้องสามารถเข้าถึงได้ง่าย
- ฝักบัวฉุกเฉิน : ในกรณีที่สารเคมีสัมผัสผิวหนังอย่างรุนแรง สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้พนักงานตัวเปียกและฆ่าเชื้อได้อย่างรวดเร็ว หากพบว่ามีอาการข้างเคียงตามมาหรือมีแผลไหม้ควรรีบพบแพทย์
- ชุดอุปกรณ์การรั่วไหล : เตรียมชุดอุปกรณ์เฉพาะทางสำหรับประเภทของสารเคมี (เช่น กรด ตัวทำละลาย) ให้พร้อมและฝึกอบรมพนักงานให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
วิธีการจำกัดอันตรายทางสารเคมี
หากการทิ้งสารเคมีนั้นเป็นไปแบบผิดๆ หรือไม่ทิ้งตามมาตรการที่ควรจะเป็น นอกจากจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมแล้วก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้อีกด้วย เช่น สารเคมีรั่วไหลลงสู่สาธารณะ หรือการสัมผัสสารเคมีของบุคคลภายนอก
- ภาชนะบรรจุขยะเคมี : ใช้ภาชนะที่ออกแบบมาสำหรับขยะเคมีและมีฉลากติดตั้งให้ถูกต้อง
- การกำจัดของเสียอันตราย : จ้างบริษัทกำจัดของเสียอันตรายที่ได้รับใบอนุญาตให้กำจัดเท่านั้น
- ห้ามทิ้งลงในท่อระบายน้ำ : ห้ามเทสารเคมีลงในอ่างล้างจานเว้นแต่จะเป็นสารเคมีที่ระบุว่าสามารถทิ้งได้
ใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
สารเคมีเป็นสิ่งที่อันตรายในทุกๆ ด้าน แม้ว่าจะป้องกันดีแค่ไหนความอันตรายก็ยังคงอยู่ ดังนั้น หากเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้
- หาสารเคมีทดแทน : หากเป็นไปได้ ให้ใช้สารเคมีอันตรายน้อยกว่าที่สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน เช่น ใช้สารที่ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ
- จำกัดปริมาณ : สั่งซื้อและใช้ปริมาณสารเคมีที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรสั่งเผื่อเพราะอาจจะเกิดสารตกค้างและยุ่งยากในการกำจัด
สุดท้ายนี้ ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ก็คือสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ หากพบว่าองค์กรของคุณไม่สามารถจัดการกับสารอันตรายเหล่านั้นได้ควรเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น