Home » ความปลอดภัยในการทำงานกับรถยก
ความปลอดภัยในการทำงานกับโฟคลิฟท์

ความปลอดภัยในการทำงานกับรถยก

128 views

ทำงานกับ รถยก อย่างไร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสุงสุด

รถยก หมายความว่า รถที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้สำหรับยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ เช่น ฟอร์คลิฟต์ (forklift) หรือรถที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษว่า forklift ซึ่งเป็นการผสมคำ 2 คำ คือ “fork” ที่แปลว่า “ง่าม” และ “Lift” ที่แปลว่า “การยก”

 

ประเภทของรถยก

 

ประเภทของรถยก

รถยกสามารถแบ่งออกตามประเภทของกำลังขับเคลื่อนได้ 2 ประเภทคือ

  1. Engine Forklift รถยกที่ใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง โดยใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง รถยกประเภทนี้สามารถ แบ่งออกตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้เป็น 3 ประเภท คือ
  • Diesel Engine ชนิดเครื่องยนต์ดีเซล
  • Gasoline Engine ชนิดเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
  • LPG Engine ชนิดเครื่องยนต์แก๊ส LPG
  1. Battery Forklift รถยกไฟฟ้าใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อน โดยได้รับกระแสไฟมาจาก แบตเตอรี่ รถยกไฟฟ้าสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายนอกได้ 2 ประเภท คือ
  • Counter Balancit แบบนั่งขับ
  • Reach Truck แบบยืนขับ

รถยกประเภทนี้ ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน จึงช่วยประหยัดค่าน้ำมัน แต่ตัวรถมีราคาค่อนข้างสูง และ ต้องใช้เวลาในการชาร์ตแบตเตอรี่หลายชั่วโมง

ใครสามารถขับรถยกได้

รถยก หรือ ฟอร์คลิฟต์ ถือเป็นเครื่องจักรชนิดหนึ่งที่ผู้ขับต้องมีความรู้ ความชำนาญ จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งผู้ที่สามารถขับรถยกได้ ต้องผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้รถยกแต่ละประเภท ความปลอดภัยในการขับรถยก การตรวจสอบและบำรุงรักษารถยกโดยวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับรถยก ตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด 

 

การตรวจสอบ-รถยก-ประจำวันต้องตรวจอะไรบ้าง

 

การตรวจสอบ รถยก ประจำวันต้องตรวจอะไรบ้าง

การตรวจสอบรถยกประจำวันก่อนการใช้งาน เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน จะต้องทำการตรวจสอบ ก่อนการใช้งานเป็นประจำทุกวัน เพื่อตรวจดูสภาพความพร้อมของรถยกก่อนนำมาใช้งานว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่ หากพบปัญหาจะได้รีบแก้ไข โดยการตรวจสอบรถยกก่อนการใช้งาน สามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. ก่อนการสตาร์ทเครื่องยนต์

  • ตรวจดูความสะอาดภายนอก
  • ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ
  • ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง
  • ตรวจระดับน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ตรวจระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
  • ตรวจระดับน้ำมันไฮโดรลิค
  • ตรวจระดับน้ำมันเกียร์พวงมาลัย
  • ตรวจระดับน้ำมันเบรค
  • ตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่
  • ตรวจความตึงของสายพานเครื่องยนต์
  • ตรวจการทำงานของเบรคมือและขาเบรค
  • ตรวจระบบสัญญาณไฟฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ไฟส่องสว่างและสัญญาณแตร
  • ตรวจสภาพความตึงของโซ่ยกของ
  • ตรวจสภาพยางรถ
  • ตรวจวัดลมยางและเติมให้แรงดันตามที่กำหนดไว้
  • ตรวจรอยรั่วซึมตามจุดต่างๆ
  1. หลังการสตาร์ทเครื่องยนต์

  • ตรวจเช็คว่ามีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์หรือไม่
  • ตรวจดูไฟหน้าปัดดับหมดหรือไม่
  • ตรวจระยะฟรีของพวงมาลัยและการบังคับเลี้ยว
  • ตรวจการทำงานของชุดควบคุมอุปกรณ์ยกงาว่าทำงานเรียบร้อยหรือไม่ 

การตรวจสอบหากมีการทำงาน 2 กะ ต้องทำการตรวจสอบทั้ง 2 กะ โดยผู้ใช้งานเป็นคนแรก หากใครใช้งานก่อนก็ต้องเป็นผู้ตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานรถยก และเอกสารในการตรวจสอบหรือที่เราเรียกกันว่า check sheet ก็ต้องออกแบบให้เหมาะสมกับประเภทของรถยกที่ใช้งานด้วย เพราะรถยกที่ใช้เชื้อเพลิงแตกต่างกัน อาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันด้วย

 

ข้อปฏิบัติในการทำงานกับรถยกอย่างปลอดภัย

 

ข้อปฏิบัติในการทำงานกับรถยกอย่างปลอดภัย

การทำงานกับรถยกอย่างปลอดภัย นอกจากผู้ปฏิบัติงานต้องอบรมโฟล์คลิฟท์แล้ว ยังมีข้อที่ต้องคำนึงถึงเมื่อมีการใช้งานรถยกเพื่อความปลอดภัย ดังนี้

  • รถยกต้องมีโครงหลังคาที่มั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันอันตรายจากวัสดุตกใส่ได้ และรถยกต้องไม่ดัดแปลงหรือทำการใดๆ ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงานของรถยก
  • รถยกต้องมีป้ายบอกพิกัดยกอย่างปลอดภัยติดไว้ที่ตัวรถ เพื่อให้สามารถดเห็นได้อย่างชัดเจน
  • ต้องตรวจสอบรถยกก่อนการใช้งานทุกครั้ง
  • รถยกที่ใช้งานต้องมีสัญญาณเสียงหรือแสงไฟเตือนให้เห็นได้อย่างชัดเจนในขณะที่มีการใช้งาน
  • รถยกต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยมอง เช่น กระจกมองข้าง
  • ในจุดที่เป็นมุมอับหรือมองเห็นได้ยากต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยมอง เช่น กระจกนูน
  • ในขณะขับรถยก ผู้ขับขี่จะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา
  • หากเป็นรถยกที่ใช้ไฟฟ้า ต้องดูแลบริเวณที่มีการเติมประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่สำหรับรถยกให้อยู่ห่างจากบริเวณที่ลูกจ้างทำงาน และจัดให้มีการระบายอากาศเพื่อลดการสะสมของไอกรดและไอระเหยของไฮโดรเจนจากการประจุไฟฟ้า
  • ต้องกำหนดเส้นทางเดินรถให้ชัดเจนในบริเวณที่มีการใช้งานรถยกเป็นประจำ เพื่อเป็นการแยกรถยกกับคนออกจากกัน และเส้นทางเดินรถยกต้องมีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้
  • ต้องควบคุมดูแลไม่ให้ใช้รถยกใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า
  • ห้ามโดยสารไปกับรถยกโดยเด็ดขาด

เมื่อมีการกำหนดมาตรการในการทำงานกับรถยกอย่างปลอดภัย ต้องควบคุมดูแลให้ผู้ใช้งานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ที่อยู่ในพื้นที่ของรถยก

สรุป

ความปลอดภัยในการทำงานกับรถยกนอกจากรถยกต้องมีสภาพที่ปลอดภัยพร้อมใช้งาน ผู้ขับขี่ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด เพื่อให้สามารถใช้งานรถยกได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และนอกจากสภาพรถยกที่ปลอดภัย ผู้ขับขี่ผ่านการอบรม ข้อกำหนดหรือมาตรการด้านความปลอดภัยก็สำคัญเช่นกัน โดยต้องควบคุมดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานทำตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลที่มีประโยชน์ด้านการทำงานในอุตสาหกรรม สามารถหาข้อมูลได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

@2023 – Thaimanufac. All Right Reserved. Designed and Developed by thaimanufac