Home » Title 49 CFR มาตรฐานการขนส่งวัตถุอันตราย
Title-49-CFR

Title 49 CFR มาตรฐานการขนส่งวัตถุอันตราย

160 views

Title 49 CFR : มาตรฐานการขนส่งวัตถุอันตราย คืออะไร

Title 46 CFR คือ กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับ มาตรฐานการขนส่งวัตถุอันตราย ต่างๆ เช่น สารเคมี วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้จะช่วยควบคุมความปลอดภัยระหว่างการขนส่ง หากไม่ปฏิบัติตาม อาจจะเกิดผลเสียตามมาอย่างใหญ่หลวง 

โดยในวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ Title 46 CFR กันแบบคร่าวๆ เนื่องจากรายละเอียดของข้อกำหนดนี้นั้นยาวมากๆ คุณสามารถอ่านอย่างละเอียดได้ในเอกสารจากทาง official หากเรานำมาเล่าทั้งหมดในบทความนี้ แน่นอนว่าบทความคงยาว 10,000 คำแน่ๆ ฮ่าๆ

ข้อกำหนดพื้นฐาน

  1. ไม่อนุญาตให้มีการขนส่งวัตถุอันตรายหากไม่ได้รับการลงทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งข้อกำหนดของวัสดุแต่ละประเภท ทั้งในส่วนของน้ำหนัก ปริมาณ ความอันตรายของวัตถุ สามารถดูได้ในข้อกำหนดอย่างละเอียดของ CFR 49 
  2. วัตถุอันตรายต้องได้รับการบรรจุในหีบห่ออย่างถูกต้องตามข้อกำหนด จะต้องมีการแปะป้ายสัญลักษณ์ระบุประเภทของวัตถุอันตราย คำอธิบายของวัตถุ ติดฉลากวัตถุอันตราย นอกจากนี้ เงื่อนไขในการขนส่งต่างๆ ทั้งในแง่ของการจราจร สภาพอากาศ ความเร็วยานพาหนะ ฯลฯ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเหล่านี้ได้ที่เอกสารจาก Official 
  3. คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้ภายหลังได้เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน ได้แก่ การแก้ไข ดัดแปลง ปลอมแปลงข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งหรือรูปแบบการขนส่ง เอกสาร ฉลากวัตถุ ใบอนุญาต โดยจะมีความผิดตามกฎหมาย

หน้าที่รับผิดชอบของแต่ละฝ่าย

ภายในขั้นตอนการขนส่งวัตถุอันตราย ก็จะมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือมีหน้าที่ในการรับผิดชอบอยู่ไม่กี่ฝ่าย โดยหลักๆ แล้วจะมีดังนี้

หน้าที่ของผู้ขนส่งใน มาตรฐานการขนส่งวัตถุอันตราย

หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ขับยานพาหนะประเภทต่างๆ เพื่อส่งวัตถุอันตรายไปยังเป้าหมาย โดยมีมาตรการที่ต้องปฏิบัติตามดังนี่

  1. เอกสารการขนส่ง 
  2. ป้ายเตือน เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่างๆ บนยานพาหนะ 
  3. ขนของขึ้นและลงจากยานพาหนะ 
  4. เครื่องมือ หรือชิ้นส่วนที่ใช้ในการค้ำยัน ทุ่นแรง หรือปิดกั้นเพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง เช่น ไม้กัดฉาก เชือกมัดวัตถุอันตราย ฯลฯ 
  5. การรายงานเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มไปจนถึงสิ้นสุดการขนส่ง 
  6. แผนการรักษาความปลอดภัย 
  7. จะต้องเป็นพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้วเรียบร้อย

องค์กรที่จัดส่ง 

หมายถึง องค์กรที่มีหน้าที่ในการจัดเตรียมแผนการขนส่งต่างๆ พูดง่ายๆ คือ เป็นนายจ้างหรือองค์กรที่รับผิดชอบผู้ขนส่งนั่นเอง โดยจะมีมาตรการและข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามคล้ายๆ กับผู้ขนส่ง ดังนี้ 

  1. พิจารณาว่าวัตถุที่ขนส่งนั้นตรงตามคำนิยามของวัตถุอันตรายตามกฎหมายหรือไม่ หากไม่ตรง ให้ดำเนินการตามข้อกำหนดการขนส่งวัตถุอื่นๆ แต่หากตรง ให้ดำเนินการตามข้อต่อไปนี้ 
  2. ระบุชื่อผู้ขนส่ง 
  3. ระบุประเภทของวัตถุอันตราย 
  4. ป้ายเตือนความอันตรายของวัตถุตามประเภท 
  5. บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและปลอดภัย โดยสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ได้ที่เอกสารจาก Official 
  6. เครื่องหมายระบุประเภทของวัตถุอันตราย 
  7. ฝึกอบรมพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ทุกข้ออย่างละเอียด 
  8. จัดเตรียมเอกสารในการจัดส่ง 
  9. ข้อมูลการติดต่อในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน 
  10. ใบอนุญาตการเดินทางต่างๆเช่นพาสปอร์ตบัตรประชาชนใบขับขี่ใบอนุญาตเดินเรือฯลฯ
  11. วิธีการกักเก็บบรรจุและขนส่งวัตถุอันตรายอย่างปลอดภัย
  12. แผนการรักษาความปลอดภัยของวัตถุอันตราย 
  13. การรายงานผลการขนส่งสถานการณ์ขนส่งต่อบริษัทขนส่งหรือองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

ทำไม-Title-49-CFR-ถึงสำคัญ

ทำไม Title 49 CFR ถึงสำคัญและไม่ควรมองข้าม ? 

  • การขนส่งวัตถุอันตรายนั้นมีความเสี่ยงหลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น สารเคมีรั่วไหล อุบัติเหตุทางท้องถนน การเกิดระเบิดหรือไฟไหม้ 
  • การขนส่งวัตถุอันตรายจำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษกว่าวัตถุทั่วไปเพื่อป้องกันความปลอดภัยของสาธารณะชน
  • การขนส่งวัตถุอันตรายนั้นมีค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่สูง ดังนั้นมาตรการที่เคร่งครัดจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่างๆ ได้ 

สุดท้ายนี้ Title 49 CFR คือ อีกหนึ่งมาตรการที่หลายๆ คนอาจจะไม่รู้จัก แต่เป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญที่สุด 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลที่มีประโยชน์ด้านการทำงานในอุตสาหกรรม สามารถหาข้อมูลได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

@2024 – Thaimanufac. All Right Reserved. Designed and Developed by thaimanufac